http://ejsu.siam.edu/index.php/ejsu/issue/feed
Journal of Engineering Siam University
2025-06-30T00:00:00-04:00
คณะบัณฑิตวิทยาลัย สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ejofsu@siam.edu
Open Journal Systems
<p><strong>วาระที่ออกวารสาร ปีละ 2 ฉบับ</strong></p> <p>- ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มิถุนายน<br />- ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม<br /><br /><strong>บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิตามสาขาวิชาจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ท่าน โดยการประเมินในลักษณะ Double-Blind Peer Review</strong></p>
http://ejsu.siam.edu/index.php/ejsu/article/view/21
การปรับปรุงกระบวนการผลิตในสายการผลิตบานเลื่อนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์: กรณีศึกษาโรงงานผลิตอลูมิเนียมเส้นหน้าตัด
2024-12-15T10:06:39-05:00
พงศ์ศิริ สีคช
pongsiri1995@hotmail.com
ธนารักษ์ หีบแก้ว
thanarak.heeb@siam.edu
<p>งานวิจัยนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตกระบวนการผลิตบานเลื่อน EURO ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าอยู่ที่ 120 ชุด/เดือน ซึ่งปัจจุบันสามารถผลิตได้เพียง 105 ชุด/เดือน โดยทำการศึกษาขั้นตอนการทำงานทั้งหมด 5 กระบวนการ จากการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาโดย Why Why Analysis พบว่า 2 กระบวนการใช้ระยะเวลาเกิน Takt Time ที่กำหนดคือ 90 นาที/ชุด และเกิด Bottle neck ขึ้น ซึ่ง Cycle Time ปัจจุบันคือ 111.17 นาที/ชุด ไม่สามารถผลิตงานได้ตามความต้องการของลูกค้า จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าสถานีงานที่เกิดความล่าช้าและเกิดความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น ซึ่งความสูญเปล่าดังกล่าวนั้นได้เสนอแนวทางการปรับปรุงด้วยหลักการ ECRS ทั้งหมด 2 แนวทาง คือ 1 ) ออกแบบชิ้นส่วนปิดเสาโหนกใหม่ 2) ออกแบบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ใหม่ หลังการปรับปรุงพบว่าสามารถลดระยะเวลาทั้ง 2 กระบวนการอยู่ภายใต้ Takt Time ที่กำหนด โดย Cycle Time ก่อนการปรับปรุงจาก 111.17 นาที/ชุด ลดลงเหลือ 77.30 นาที/ชุด หรือลดลงร้อยละ 30.5 และผลผลิตจากเดิม 105 ชุด/เดือน เพิ่มขึ้นเป็น 151 ชุด/เดือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.8 ต้นทุนค่าแรงงานอยู่ที่ 1,485.71 บาท/ชุด ลดลงเป็น 1,033.11 บาท/ชุด หรือลดลงร้อยละ 30.5 และลดต้นทุนค่าวัสดุเป็นจำนวนเงิน 468,039.6 บาท/ปี</p>
2025-06-30T00:00:00-04:00
Copyright (c) 2025 Journal of Engineering Siam University
http://ejsu.siam.edu/index.php/ejsu/article/view/44
การวิเคราะห์เส้นทางการเข้าชมในสวนสนุกด้วยเทคนิคเหมืองกระบวนการ (รูปแบบ ความผิดปกติ และข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์บันทึกเหตุการณ์)
2025-06-26T03:52:07-04:00
เอนก นามขันธ์
anake_cc@thonburi-u.ac.th
พาฮอม โพโรฮาน
parham@siam.edu
<p>การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นและความต้องการในการตัดสินใจโดยอิงจากข้อมูลที่มากขึ้น ได้นำไปสู่การประยุกต์ใช้เทคนิคเหมืองกระบวนการในหลากหลายอุตสาหกรรม งานวิจัยนี้นำเทคนิคเหมืองกระบวนการมาใช้เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เข้าชมในบริบทของสวนสนุก โดยใช้ข้อมูลบันทึกเหตุการณ์จริงเพื่อค้นหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบกิจกรรม ประสิทธิภาพของกระบวนการ และความผิดปกติในการดำเนินงาน<br />ปัญหาหลักที่งานวิจัยนี้มุ่งแก้ไขคือ การขาดความสามารถในการมองเห็นปฏิสัมพันธ์ของผู้เข้าชมแบบครบวงจร ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุงบริการและการส่งมอบประสบการณ์เฉพาะบุคคล วิธีการวิเคราะห์แบบดั้งเดิมมักไม่สามารถเปิดเผยจุดคอขวดที่ซ่อนอยู่ ความแตกต่างของรูปแบบ หรือเส้นทางที่ผิดปกติในกระบวนการไหลของผู้เข้าชมได้ ดังนั้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการใช้เครื่องมือเหมืองกระบวนการเพื่อดึงข้อมูลเชิงลึกจากบันทึกเหตุการณ์ ประเมินลำดับของกิจกรรม จัดกลุ่มรูปแบบ ระบุจุดที่ไม่มีประสิทธิภาพ และเสนอข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ได้จริงเพื่อการปรับปรุง<br />การวิเคราะห์ดำเนินการกับชุดข้อมูลที่ประกอบด้วย 100 กรณี และ 684 เหตุการณ์ ครอบคลุมกิจกรรมที่แตกต่างกัน 15 รายการ โดยใช้เครื่องมือ เช่น แผนผังกระบวนการ การวิเคราะห์ความแตกต่าง การจัดกลุ่ม และการกรองตามเวลา ผลการวิเคราะห์ที่ได้มีความน่าสนใจ ได้แก่ การค้นพบรูปแบบกระบวนการหลัก 2 กลุ่ม (คลัสเตอร์) ที่ครอบงำพฤติกรรมของผู้เข้าชม โดยแต่ละกลุ่มมี 13 กรณี นอกจากนี้ยังตรวจพบรูปแบบที่ผิดปกติ พร้อมกับข้อมูลเชิงลึกด้านความถี่ที่มีคุณค่า เช่น ความนิยมของกิจกรรม “มาถึงสวนสนุก” และ “ออกจากสวนสนุก” และเส้นทางที่พบได้ยาก เช่น “ไถลลงจากสไลเดอร์น้ำ” ตามด้วยการออกจากสวนทันที การวิเคราะห์ตามเวลาเผยให้เห็นว่า 93% ของกรณีใช้เวลามากกว่า 5 ชั่วโมง โดยมีเพียงกรณีเดียวที่ใช้เวลาเกิน 9 ชั่วโมง นอกจากนี้ การจับคู่กิจกรรมกับทรัพยากรที่รับผิดชอบทำให้สามารถเข้าใจการกระจายภาระงานและความไม่มีประสิทธิภาพของบริการที่อาจเกิดขึ้นได้<br />ประโยชน์ของงานวิจัยนี้อยู่ที่ความสามารถในการปรับปรุงแผนที่เส้นทางลูกค้า ปรับการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม และสนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เพื่อการยกระดับบริการ ด้วยการเปิดเผยรูปแบบและความเบี่ยงเบน ผู้จัดการสวนสนุกสามารถจัดสรรพนักงานได้ดีขึ้น ออกแบบโปรโมชั่นเฉพาะกลุ่ม และลดเวลารอของผู้เข้าชม<br />ขอบเขตของงานวิจัยนี้สามารถขยายไปยังสภาพแวดล้อมอื่นที่มุ่งเน้นลูกค้า เช่น ธุรกิจค้าปลีก การดูแลสุขภาพ และการศึกษา ซึ่งการทำเหมืองกระบวนการสามารถเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้ งานวิจัยในอนาคตจะเน้นการเฝ้าติดตามแบบเรียลไทม์ การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ และการบูรณาการตัวชี้วัดความพึงพอใจของลูกค้าเข้ากับแบบจำลองเหมืองกระบวนการ เพื่อส่งเสริมกรอบการดำเนินงานที่ชาญฉลาดและเชิงรุกมากยิ่งขึ้น</p>
2025-06-30T00:00:00-04:00
Copyright (c) 2025 Journal of Engineering Siam University
http://ejsu.siam.edu/index.php/ejsu/article/view/45
การออกแบบและพัฒนาระบบไอโอทีควบคุมลำโพงไร้สายด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์
2025-06-26T12:36:41-04:00
พิพัฒน์ ดุรงค์ดำรงชัย
pipat.dur@neu.ac.th
สัญญารัก จันทรอุดร
sunyaruk.jun@neu.ac.th
สุคนธ์ อาจฤทธิ์
sukon.art@neu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้นำเสนอการออกแบบและพัฒนาระบบไอโอทีควบคุมลำโพงไร้สายด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ มีวัตถุประสงค์ คือ ต้องการประยุกต์ใช้ระบบไอโอทีกับลำโพงธรรมดา เพื่อออกแบบให้เป็นลำโพงไอโอทีไร้สายที่สามารถควบคุมการทำงานและอ่านค่าแรงดันไฟฟ้า ค่ากระแสไฟฟ้า และแสดงสถานะแบตเตอรี่บนสมาร์ทโฟนผ่านแอปพลิเคชัน (Application) ได้ ซึ่งลำโพงมีกำลังไฟฟ้า 200 วัตต์ ใช้แบตเตอรี่ 21.6 โวลต์ 40 แอมป์ต่อชั่วโมง เพื่อให้ได้ระยะเวลาชั่วโมงการทำงานแบบต่อเนื่องที่ 6 ชั่งโมง และมีการแสดงค่าอุณหภูมิห้องผ่านจอแสดงผล 7 ส่วน มีหลอดไฟแอลอีดีประดับเพื่อความสวยงาม โดยการออกแบบและพัฒนาลำโพงไอโอทีไร้สายที่ประมวลผลด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์มีหลักการทำงานดังนี้ คือ ใช้แบตเตอรี่เป็นแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าผ่านวงจรลดระดับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงเพื่อจ่ายระดับแรงดันไฟฟ้าให้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ NodeMCU ESP8266 ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนประมวลผลหลัก โดยจะรับสัญญาณค่าแรงดันไฟฟ้า ค่ากระแสไฟฟ้า และค่าอุณหภูมิเข้ามาผ่านอุปกรณ์ตรวจวัดในขณะที่ลำโพงไอโอทีทำงาน NodeMCU ESP8266 ก็จะประมวลผล เพื่อส่งค่าเหล่านี้ไปแสดงให้เห็นที่แอปพลิเคชัน Blynk ซึ่งแอปพลิเคชัน Blynk ยังสามารถควบคุมการเปิดหรือปิด ควบคุมระดับเสียงของลำโพง สามารถควบคุมการเปิดหรือปิดหลอดไฟแอลอีดี จากผลการทดสอบการทำงานและการควบคุมลำโพงไอโอทีไร้สายที่ได้นำเสนอปรากฏว่า สามารถควบคุมการทำงานเปิดหรือปิดลำโพง เปิดหรือปิดชุดหลอดไฟแอลอีดีได้ตามการสั่งการ และมีการแสดงผลค่าแรงดันไฟฟ้า ค่ากระแสไฟฟ้า สถานะแบตเตอรี่ และอุณหภูมิผ่านทางแอปพลิเคชัน Blynk ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ สามารถอัดประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่และใช้งานได้ในระยะเวลาชั่วโมงการทำงานที่ได้ออกแบบไว้</p>
2025-06-30T00:00:00-04:00
Copyright (c) 2025 Journal of Engineering Siam University
http://ejsu.siam.edu/index.php/ejsu/article/view/42
ความเหมาะสมของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็กกับท่อประปาบ้านสำหรับการจ่ายไฟฟ้า
2025-06-25T00:30:44-04:00
อธิปตย์ จันทร์ดี
atip@mut.ac.th
<p>บทความฉบับนี้นำเสนอการศึกษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็กโดยติดตั้งกับท่อประปาสำหรับจ่ายไฟฟ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่จะนำพลังงานไฟฟ้าทีผลิตมาใช้ประโยชน์ โดยอาศัยหลักการเปลี่ยนพลังงานจลน์จากกังหันเป็นต้นกำลังเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอเปรียบเทียบการทดสอบกับแรงดันน้ำใช้งานออกเป็นสองรูปแบบ คือ แรงดันจากปั้มน้ำในแนวราบ และจากแรงดันน้ำอาคารแนวดิ่ง โดยขนาดพิกัดกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานน้ำที่ใช้มีขนาด 36 วัตต์ 18 โวลต์</p>
2025-06-30T00:00:00-04:00
Copyright (c) 2025 Journal of Engineering Siam University
http://ejsu.siam.edu/index.php/ejsu/article/view/46
การศึกษาความเป็นไปได้จากการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในฟาร์มกุ้ง กรณีศึกษา: ชุมชนอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
2025-06-26T20:52:57-04:00
วรวิทย์ ลีลาวรรณ
wolawit.l@dru.ac.th
<p>จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมากแห่งหนึ่งของประเทศ และในปี พ.ศ. 2559 มีการผลิตกุ้งคิดเป็นร้อยละ 5.47 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด มีมูลค่า 4,707 ล้านบาทแต่ทั้งนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในสมุทรปราการมีต้นทุนด้านพลังงานตามมาเป็นตุ้นทุนหลักที่ต้องจ่าย คิดเป็นร้อยละ 15-20 ของต้นทุนทั้งหมด โดยส่วนใหญ่มาจากการใช้กระบวนการเติมอากาศ ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะเปิดเครื่องเติมอากาศ เมื่อปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีค่าค่อนข้างต่ำ<br />การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวทางการใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ทดแทนพลังงานไฟฟ้าแบบเดิมเพื่อลดต้นทุนให้กับชุมชนฟาร์มกุ้งในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุนของโครงการการสร้างโรงงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยทำการติดตั้งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์เข้าไปในฟาร์มกุ้ง และทำการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เปลี่ยนแปลง โดยสามารถสรุปได้ว่าติดตั้งระบบโซล่าเซลล์มีมูลค่าปัจจุบัน (NPV) ของโครงการเป็นบวกเนื่องจากมีต้นทุนด้านพลังงานที่ลดลง ทำให้แสดงถึงการลงทุนในโครงการนั้นมีผลกำไรน่าลงทุน ส่วนระยะเวลาคืนทุนภายใน อยู่ภายใน 6.9 - 7.4 ปี ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าระบบโซล่าเซลล์นี้จึงมีความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อใช้เติมออกซิเจนให้กับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในชุมชน<br />ผลการวิเคราะห์ความไวโดยการปรับเพิ่มต้นทุนในการติดตั้งโซล่าเซลล์เพิ่มขึ้น 10% และ 20% ทั้งสองระดับมีผลกำไรอยู่ที่ 14,668 บาท และ 6,463 บาท แสดงว่าการลงทุนในโครงการนั้นมีผลกำไรน่าลงทุน โดยมูลค่าปัจจุบันสุทธิจะน้อยลงมากเมื่อมีต้นทุนเพิ่มขึ้นถึง 20% ส่วนระยะเวลาคืนทุนจะอยู่ที่ภายใน 7.6 ปี และ 8.3 ปี ตามลำดับ<br />การวิเคราะห์ความไวโดยการปรับเพิ่มไฟฟ้าทั้งก่อนติดตั้งและหลังติดตั้งเพิ่มอีก 5% และ 10% ทั้งสองระดับมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิอยู่ที่ 28,124 บาท และ 33,375 บาท แสดงว่าการลงทุนในโครงการนั้นมีผลกำไรน่าลงทุน โดยอัตราผลกำไรจะมากขึ้นมากเมื่ออัตราค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ในส่วนส่วนระยะเวลาคืนทุนภายใน 6.65 ปี และ 6.36 ปี</p>
2025-06-30T00:00:00-04:00
Copyright (c) 2025 Journal of Engineering Siam University