Journal of Engineering Siam University http://ejsu.siam.edu/index.php/ejsu <p><strong>วาระที่ออกวารสาร ปีละ 2 ฉบับ</strong></p> <p>- ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มิถุนายน<br />- ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม<br /><br /><strong>บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิตามสาขาวิชาจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ท่าน โดยการประเมินในลักษณะ Double-Blind Peer Review</strong></p> Siam University en-US Journal of Engineering Siam University 1513-4652 การประมาณค่าภาระโหลดของมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟสในสภาวะแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าไม่สมดุลรูปแบบต่าง ๆ โดยใช้วิธีการคำนวณค่าความเร็วรอบที่นำเสนอ http://ejsu.siam.edu/index.php/ejsu/article/view/23 <p>บทความนี้นำเสนอวิธีการคำนวณค่าภาระโหลดสำหรับมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟสในสภาวะที่แรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์มีความไม่สมดุลในรูปแบบต่าง ๆ โดยนำวิธีประมาณโหลดด้วยการคำนวณความเร็วรอบของมอเตอร์แบบดั้งเดิมมาปรับปรุงเพื่อลดเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงโหลดเบา และเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องเหมาะสมของวิธีการที่นำเสนอ จึงนำมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟสมาทดสอบการรับโหลดตั้งแต่ไม่มีภาระโหลดจนถึงรับโหลดเต็มพิกัดกระแสไฟฟ้า ภายให้สภาวะที่แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์มีสภาวะไม่สมดุลในรูปแบบต่าง ๆ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการคำนวณค่าเปอร์เซ็นต์โหลดด้วยวิธีการต่าง ๆ มาเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จากการทดสอบจริงในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาด จากข้อมูลที่ได้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าวิธีการที่นำเสนอให้ค่าใกล้เคียงกับผลการรับโหลดจริงของมอเตอร์มากกว่าวิธีการแบบดั้งเดิม</p> Saliltip Sinthusonthishat Copyright (c) 2024 Journal of Engineering Siam University https://ejsu.siam.edu 2024-12-31 2024-12-31 25 49 1 11 ศึกษาผลของความดันลมยางที่มีต่ออัตราสิ้นเปลืองและอัตราเร่งของรถยนต์ในการใช้งานจริง http://ejsu.siam.edu/index.php/ejsu/article/view/25 <p>งานวิจัยนี้เป็นการทดสอบแรงต้านการหมุนของล้อจากการเปลี่ยนแปลงความดันลมยางล้อหน้าที่มีต่ออัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และอัตราเร่งของรถยนต์ จากการใช้งานจริง ซึ่งผลของอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง เมื่อเทียบกับความดันลมยางที่กำหนดโดยผู้ผลิต คือ 33 psi แสดงให้เห็นว่าที่ความเร็วของรถยนต์ 60 km/hr อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ความดันลมยางล้อหน้า 28 psi มีค่ามากขึ้น 4.70% ในขณะที่ความเร็วรถยนต์ 100 km/hr มีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 1.31% ส่วนอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ความดันลมยางล้อหน้า 38 psi มีค่าลดลง 3.70% และ 1.69% ที่ความเร็ว 60 km/hr และ 100 km/hr ตามลำดับ สำหรับแนวโน้มการใช้เชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้นตามความเร็วของรถยนต์ ส่วนอัตราเร่งของรถยนต์ที่ความดันลมยางล้อหน้า 28 psi จะใช้เวลาเร่งความเร็วจาก 60 km/hr ถึง 100 km/hr มากที่สุด คือ 10.49 วินาที ในขณะที่การใช้ความดันลมยางล้อหน้า 38 psi ใช้เวลาเพียง 8.53 วินาที โดยผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าแรงต้านการหมุนของล้อจากการเปลี่ยนแปลงความดันลมยางล้อหน้ามีผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดในช่วงความเร็วต่ำ เนื่องจากผิวสัมผัสระหว่างยางและถนนมีมากกว่าความดันลมยางสูง และที่ความเร็วรถยนต์สูงเช่นกัน</p> Apiwat Suyabodha Copyright (c) 2024 Journal of Engineering Siam University https://ejsu.siam.edu 2024-12-31 2024-12-31 25 49 12 19 วงจรกรองผ่านทุกความถี่อันดับหนึ่งอย่างง่ายที่สามารถปรับค่าได้ทางอิเล็กทรอนิกส์ http://ejsu.siam.edu/index.php/ejsu/article/view/27 <p>บทความนี้นำเสนอวงจรกรองผ่านทุกความถี่อันดับหนึ่งในโหมดกระแสโดยใช้ตัวทรานสคอนดักเตอร์แบบเอาต์พุตคู่เพียง 1 ตัวและตัวเก็บประจุ 1ตัวเท่านั้น ซึ่งวงจรที่นำเสนอมีข้อดี คือ โครงสร้างวงจรเรียบง่ายและสามารถปรับค่าพารามิเตอร์ของวงจรได้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย การทำงานของวงจรที่นำเสนอและการประยุกต์ใช้งานในวงจรออสซิลเลเตอร์แบบเลื่อนเฟส ยืนยันได้จากผลการจำลองการทำงานด้วยโปรแกรม SPICE ซึ่งใช้แบบจำลองของทรานซิสเตอร์แบบซีมอส 0.18 um TSMC ด้วยไฟเลี้ยงของวงจร ± 0.75 V</p> Anuree Lorsawatsiri Vinai Silaruam Copyright (c) 2024 Journal of Engineering Siam University https://ejsu.siam.edu 2024-12-31 2024-12-31 25 49 20 25 วงจรจำลองอิมมิตแตนซ์แบบลอยตัวอย่างง่ายที่ใช้ตัวเก็บประจุแบบลงกราวนด์ http://ejsu.siam.edu/index.php/ejsu/article/view/28 <p>บทความนี้นำเสนอวงจรจำลองค่าอิมมิตแตนซ์แบบลอยตัวที่ประกอบด้วยตัวทรานสคอนดักเตอร์เพียง 5 ตัว(ใช้ทรานซิสเตอร์แบบมอส จำนวน 20 ตัว)และอุปกรณ์แบบพาสซีฟอีก 3 ตัว ซึ่งสามารถจำลองได้ 4 รูปแบบ คือ ตัวความเหนี่ยวนำ ตัวเก็บประจุ ตัวต้านทานและตัวต้านทานแบบลบที่แปรตามความถี่ ซึ่งการจำลองแต่ละรูปแบบขึ้นอยู่กับการเลือกอุปกรณ์แบบพาสซีฟในวงจร วงจรที่นำเสนอนี้มีจุดเด่นหลายประการ คือ มีโครงสร้างเรียบง่าย ปรับพารามิเตอร์ของวงจรได้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และใช้ตัวอุปกรณ์แบบพาสซิฟลงกราวนด์ทั้งหมด จึงมีความเหมาะสมในการไปสร้างในรูปแบบวงจรรวม การจำลองการทำงานและการประยุกต์ใช้งานของวงจรที่นำเสนอด้วยโปรแกรม SPICE ซึ่งใช้แบบจำลองทรานซิสเตอร์ชนิดซีมอส 0.18 um TSMC มีผลลัพธ์สอดคล้องกับแนวคิดที่นำเสนอด้วยดี</p> Vinai Silaruam Anuree Lorsawatsiri Copyright (c) 2024 Journal of Engineering Siam University https://ejsu.siam.edu 2024-12-31 2024-12-31 25 49 26 34 ระบบตรวจสอบบัณฑิตในพิธีรับปริญญาด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี http://ejsu.siam.edu/index.php/ejsu/article/view/30 <p>บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาและการนำระบบตรวจสอบชื่อด้วย RFID นำมาใช้ในพิธีรับปริญญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยระบบดังกล่าวประกอบด้วยกระบวนการหลัก 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมข้อมูลบัณฑิตในรูปแบบไฟล์ CSV การจัดเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล MySQL การเรียกค้นข้อมูลสำหรับการตรวจสอบผ่านเว็บแอปพลิเคชัน การตรวจสอบข้อมูลบัณฑิตขณะผ่านประตู RFID และการบันทึกข้อมูลการเข้าร่วมงานในรูปแบบเวลาจริง ระบบนี้ได้รับการประเมินผ่านการทดลองเพื่อวัดประสิทธิภาพ และการใช้งานในช่วงพิธีรับปริญญาจริง ผลลัพธ์แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน การรับรองความถูกต้อง และการปรับปริมาณงานให้เหมาะสม งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการที่สามารถปรับขยายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือของพิธีรับปริญญาในอนาคต</p> Sethakarn Prongnuch Phanuphong Saisaeng Treephech Phumjaroendee Samita Arsakati Ongart Tangphubet Ravi Uttamatanin Chonmapat Torasa Copyright (c) 2024 Journal of Engineering Siam University https://ejsu.siam.edu 2024-12-31 2024-12-31 25 49 35 48