การปรับปรุงกระบวนการผลิตในสายการผลิตบานเลื่อนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์: กรณีศึกษาโรงงานผลิตอลูมิเนียมเส้นหน้าตัด

Authors

  • พงศ์ศิริ สีคช ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • ธนารักษ์ หีบแก้ว ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตกระบวนการผลิตบานเลื่อน EURO ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าอยู่ที่ 120 ชุด/เดือน ซึ่งปัจจุบันสามารถผลิตได้เพียง 105 ชุด/เดือน โดยทำการศึกษาขั้นตอนการทำงานทั้งหมด 5 กระบวนการ จากการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาโดย Why Why Analysis พบว่า 2 กระบวนการใช้ระยะเวลาเกิน Takt Time ที่กำหนดคือ 90 นาที/ชุด และเกิด Bottle neck ขึ้น ซึ่ง Cycle Time ปัจจุบันคือ 111.17 นาที/ชุด ไม่สามารถผลิตงานได้ตามความต้องการของลูกค้า จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าสถานีงานที่เกิดความล่าช้าและเกิดความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น ซึ่งความสูญเปล่าดังกล่าวนั้นได้เสนอแนวทางการปรับปรุงด้วยหลักการ ECRS ทั้งหมด 2 แนวทาง คือ 1 ) ออกแบบชิ้นส่วนปิดเสาโหนกใหม่ 2) ออกแบบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ใหม่ หลังการปรับปรุงพบว่าสามารถลดระยะเวลาทั้ง 2 กระบวนการอยู่ภายใต้ Takt Time ที่กำหนด โดย Cycle Time ก่อนการปรับปรุงจาก 111.17 นาที/ชุด ลดลงเหลือ 77.30 นาที/ชุด หรือลดลงร้อยละ 30.5 และผลผลิตจากเดิม 105 ชุด/เดือน เพิ่มขึ้นเป็น 151 ชุด/เดือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.8 ต้นทุนค่าแรงงานอยู่ที่ 1,485.71 บาท/ชุด ลดลงเป็น 1,033.11 บาท/ชุด หรือลดลงร้อยละ 30.5 และลดต้นทุนค่าวัสดุเป็นจำนวนเงิน 468,039.6 บาท/ปี

Published

2025-06-30