การศึกษาความเป็นไปได้จากการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในฟาร์มกุ้ง กรณีศึกษา: ชุมชนอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Authors

  • วรวิทย์ ลีลาวรรณ สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Abstract

จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมากแห่งหนึ่งของประเทศ และในปี พ.ศ. 2559 มีการผลิตกุ้งคิดเป็นร้อยละ 5.47 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด มีมูลค่า 4,707 ล้านบาทแต่ทั้งนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในสมุทรปราการมีต้นทุนด้านพลังงานตามมาเป็นตุ้นทุนหลักที่ต้องจ่าย คิดเป็นร้อยละ 15-20 ของต้นทุนทั้งหมด โดยส่วนใหญ่มาจากการใช้กระบวนการเติมอากาศ ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะเปิดเครื่องเติมอากาศ เมื่อปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีค่าค่อนข้างต่ำ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวทางการใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ทดแทนพลังงานไฟฟ้าแบบเดิมเพื่อลดต้นทุนให้กับชุมชนฟาร์มกุ้งในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุนของโครงการการสร้างโรงงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยทำการติดตั้งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์เข้าไปในฟาร์มกุ้ง และทำการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เปลี่ยนแปลง โดยสามารถสรุปได้ว่าติดตั้งระบบโซล่าเซลล์มีมูลค่าปัจจุบัน (NPV) ของโครงการเป็นบวกเนื่องจากมีต้นทุนด้านพลังงานที่ลดลง ทำให้แสดงถึงการลงทุนในโครงการนั้นมีผลกำไรน่าลงทุน ส่วนระยะเวลาคืนทุนภายใน อยู่ภายใน 6.9 - 7.4 ปี ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าระบบโซล่าเซลล์นี้จึงมีความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อใช้เติมออกซิเจนให้กับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในชุมชน
ผลการวิเคราะห์ความไวโดยการปรับเพิ่มต้นทุนในการติดตั้งโซล่าเซลล์เพิ่มขึ้น 10% และ 20% ทั้งสองระดับมีผลกำไรอยู่ที่ 14,668 บาท และ 6,463 บาท แสดงว่าการลงทุนในโครงการนั้นมีผลกำไรน่าลงทุน โดยมูลค่าปัจจุบันสุทธิจะน้อยลงมากเมื่อมีต้นทุนเพิ่มขึ้นถึง 20% ส่วนระยะเวลาคืนทุนจะอยู่ที่ภายใน 7.6 ปี และ 8.3 ปี ตามลำดับ
การวิเคราะห์ความไวโดยการปรับเพิ่มไฟฟ้าทั้งก่อนติดตั้งและหลังติดตั้งเพิ่มอีก 5% และ 10% ทั้งสองระดับมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิอยู่ที่ 28,124 บาท และ 33,375 บาท แสดงว่าการลงทุนในโครงการนั้นมีผลกำไรน่าลงทุน โดยอัตราผลกำไรจะมากขึ้นมากเมื่ออัตราค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ในส่วนส่วนระยะเวลาคืนทุนภายใน 6.65 ปี และ 6.36 ปี

Published

2025-06-30